วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559

วิธี คำนวณภาษีป้าย



วิธีคำนวณภาษีป้าย...

ทางเทศบาลเค้าจะแบ่งประเภทของป้าย
ในการคำนวนภาษีเป็น 3 ประเภท ดังนี้...


ประเภทที่ 1 คือป้ายที่มีอักษรไทยล้วน

อัตราภาษี 500ตร.ซม/3บาท/1ด้าน/1ปี


ตัวอย่าง ป้ายประเภทที่ 1 : ป้ายอักษรไทยล้วน














ตัวอย่าง ป้ายประเภทที่ 1 : ป้ายอักษรไทยล้วน






________________________________________________

ประเภทที่ 2 คือป้ายที่มีตัวอักษรไทย+ตัวอักษรต่างประเทศ
จะมีรูปหรือมีโลโก้ด้วยก็ได้   ***แต่ต้องให้ตัวอักษรภาษาไทยอยู่ด้านบนสุด
เหนือโลโก้ เหนือข้อความต่างๆ***

อัตราภาษี 500ตร.ซม/20บาท/1ด้าน/1ปี


ตัวอย่าง ป้ายประเภทที่ 2 : ป้ายตัวอักษรไทย+ตัวอักษรต่างประเทศ


ตัวอย่าง ป้ายประเภทที่ 2 : ป้ายตัวอักษรไทย+ตัวอักษรต่างประเทศ












________________________________

ประเภทที่ 3
คือป้ายภาษาต่างประเทศล้วน
หรือโลโก้ หรือ ตัวอักษรต่างประเทศ + อักษรไทย หรือทั้งหมดที่กล่าวมาอยู่
ในป้ายเดียวกันแต่ภาษาต่างประเทศ หรือโลโก้ อยู่ส่วนบนสุดของป้าย

อัตราภาษี 500ตร.ซม/40บาท/1ด้าน/1ปี
ตัวอย่าง ป้ายประเภทที่ 3 : ตัวอักษรต่างประเทศ

 









___________________________________________

** ถ้าป้ายคำนวณภาษีแล้วไม่ถึง 200 บาท ให้คิด 200 บาท/1ด้าน/1ปี **

__________________________________________________


ตัวอย่างเช่น  ป้ายขนาด 1.2x2.5 เมตร 1 ด้าน จะต้องเสียภาษีปีละเท่าไหร่ ?

(แปลงหน่วยของเมตร เป็นเซนติเมตรก่อนนะ โดยเอาจำนวนเมตรx100 = จำนวนเซนติเมตร
   กรณีนี้คือ 1.2x100 =120 และ 2.5x100 =250 จะได้เป็น 120x250 เซนติเมตร )

วิธีทำ

              120 x 250 แล้วเอามาหาร 500 = 60 หน่วย

            ป้ายประเภทที่ 1 ต้องจ่ายภาษี 60x3 = 180 บาท/ปี* (ถ้า2ด้านก็x2ค่ะ)
            ป้ายประเภทที่ 2 ต้องจ่ายภาษี 60x20 = 1200 บาท/ปี (ถ้า2ด้านก็x2ค่ะ)
            ป้ายประเภทที่ 3 ต้องจ่ายภาษี 60x40 = 2400 บาท/ปี (ถ้า2ด้านก็x2ค่ะ)
            * ป้ายประเภทที่ 1 นั้น คำนวนแล้วไม่ถึง 200 บาท ให้จ่าย 200 บาท/ปี ค่ะ
_________________________________________________

TIPS

- ป้ายที่มีล้อเลื่อน และเราต้องเลื่อนป้ายเข้า-ออกอยู่บ่อยๆ ไม่ต้องเสียภาษีค่ะ

- ป้ายที่ติดในอาคารก็ไม่ต้องเสียภาษีค่ะ
ตัวอย่าง ป้ายที่ติดภายในอาคาร















 

- ป้ายที่ติดบนพื้นที่ขนาดใหญ่ๆ จะคิดแค่ความกว้างxยาวของตัวอักษร+โลโก้ค่ะ 
  ดังตัวอย่าง ถ้าป้ายลักษณะแบบนี้คิดตามขนาด แค่ตรงส่วนชื่อและโลโก้ในกรอบ
 สีแดงๆเท่านั้นนะคะ ไม่ต้องคิดทั้งหมดของพื่นที่ระแนง

ตัวอย่าง แบบนี้คิดแค่ตรงส่วนกรอบสีแดงๆนะคะ
 











 

- ป้ายของทางราชการ ป้ายของโรงเรียนทังรัฐและเอกชนก็ไม่ต้องเสียภาษี

- ป้ายตามงาน Event ที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราวก็ไม่ต้องเสียภาษี


- ป้ายวัด ป้ายสมาคม มูลนิธิ ป้ายการกุศลเพื่อสาธารณโดยเฉพาะไม่ต้องเสียภาษีค่ะ
_________________________________________________
 

ขอขอบคุณข้อมูลคำนวนภาษีจากเทศบาลอำเภอชะอำค่ะ

จริงๆคือมันมีรายละเอียดเยอะกว่านี้มากมาย อันนี้เราแค่ลองสรุปมาเป็นภาษพูดง่ายๆ และ
เป็นข้อมูลที่สำคัญๆที่คนส่วนใหญ่ควรรับรู้ ถ้าอยากได้รายละเอียดที่ละเอี๊ยดละเอียด มาก
กว่านี้แนะนำขอข้อมูลที่เทศบาลใกล้ๆบ้านได้เลยค่ะ เค้าให้คำปรึกษาได้ดี เราก็ไปขอ
ความรู้จากเค้ามาเหมือนกันจร้า...


สวัสดี...


วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

ทำป้ายอะไรดีคะ ?

เมื่อทำกิจการ หรือค้าขายสินค้า บริการต่างๆ ก็ต้องประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดยทั่วกัน
สิ่งหนึ่งที่สำคัญเลยกับธุรกิจ ก็คือป้าย ซึ่งจะบ่งบอกว่า คุณเป็นใคร ร้านอะไร บริษัทอะไร
และคุณมาทำธุรกิจอะไรอยู่ตรงนี้ 
ขั้นต่อไปก็คือ เลือกร้านทำป้ายที่คุณถูกใจ และเตรียมข้อมูลเหล่านี้มาด้วย...แต่ถ้ามีข้อมูลบางส่วน หรือไม่เตรียมข้อมูลอะไรมาเลยก็ไม่เป็นไรนะคะ 

ที่อยากจะบอกก็คือ ถ้าคุณลูกค้าให้ข้อมูลได้ครบถ้วน  จะเป็นประโยชน์
กับทั้งเราและตัวลูกค้าเองด้วยค่ะ คือได้งานเร็วและแบบถูกต้องครบถ้วนค่ะ



เวลาลูกค้ามาทำป้าย เราจะยิงคำถามประมาณนี้


1. จะทำป้ายอะไรคะ? 

ถ้าคุณลูกค้ายังไม่รู้จะเริ่มต้นจากอะไร
- บอกตำแหน่งติด
บอกถึงตำแหน่งที่จะติดป้ายก็ได้ค่ะ เช่น จะทำป้ายชื่อร้านติดบนกันสาดหน้าร้าน/
จะทำป้ายชื่อบริษัทติดบนตัวอาคาร... เป็นต้น
- บอกชื่อวัสดุ
กรณีที่คุณลูกค้า พอจะทราบเรื่องวัสดุงานป้าย บอกชื่อวัสดุเลยก็ชัดเจนดีค่ะ
เช่น อยากทำป้ายไวนิล / อยากทำป้ายกล่องไฟ / อยากได้สติกเกอร์ติดกระจกหน้าร้าน ...

2.ใช้ภายในหรือภายนอก?

แน่นอนว่าวัสดุที่ใช้ในงานภายใน และภายนอกต่างกัน อย่างภายนอก เบสิคเลย
คือต้องทนแดดทนฝน กี่ปีๆ ก็ว่ากันไปตามวัสดุที่สนใจได้เลยค่ะ

3. ขนาดเท่าไหร่?

ส่วนใหญ่ลูกค้าจะไม่ค่อยมีขนาดมาให้นัก แต่บางคนจะฟิกซ์มาเลยว่า เอาป้ายไซร์ 1x2 m ค่ะ
อันนี้จะได้งานเร็วเพราะมีขนาดที่ชัดเจน หรือบางคนก็จะมากะไซร์เอาเองที่ร้าน ซึ่งกรณีนี้ถ้าพื้นที่ติดกว้างมากก็ไม่เป็นไร แต่ถ้ามันฟิตหรือเล็กกว่าไซร์ป้ายที่จะเอาไปติด คงเกิดปัญหาแน่ๆ ต้องเสียเงินเพื่อทำใหม่อีกรอบ อันนี้อยากแนะนำให้คุณลูกค้าซื้อตลับเมตรดีกว่า ร้านทุกอย่าง 20 หรือ ไดโซะก็มีขายค่ะ หรือถ้าอยู่ไม่ไกลจากร้านป้ายมากนักส่วนใหญ่ คุณลูกค้าสามารถบอกให้ทางร้านป้ายไปวัดที่หน้างานให้ได้ค่ะ

4. มีแบบอยู่แล้วหรือยัง?


ถ้าคุณพอจะใช้โปรแกรมออกแบบเป็น ก็ทำแบบมาเองเลยก็ได้ค่ะ เพราะถ้ายังไม่มีแบบ
ทางร้านป้ายอาจจะคิดค่าออกแบบด้วย ราคาก็ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงานนั้นๆ
โปรแกรมที่ใช้ทำแบบงานป้าย เช่น Illustrator / Photoshop / Corel Draw



5. ป้ายต้องเสร็จภายในวันที่เท่าไหร่? ใช้งานวันไหน?

ระบุวันรับงานให้แน่ชัดค่ะ ขอแนะนำว่าให้เผื่อระยะปลอดภัยไว้ซัก 2 วัน เช่น ใช้งานวันที่
10ให้คุณลูกค้าบอกร้านป้ายไปว่าจะมารับงานวันที่ 8 //กันไว้ดีกว่าแก้ เราเองก็มีส่งงาน
ลูกค้าช้าบ้างเหมือนกัน บ่อยด้วย แหะๆ


6. งบประมาณที่มี

อันนี้ถ้าคุณลูกค้ามีงบในใจไว้เท่านี้ๆ บอกร้านป้ายไปเลยค่ะ แล้วทางร้านจะบอกคุณเอง
ว่าพอจะเป็นไปได้ไหม หรือถ้าเกินงบไปเยอะลองให้ทางร้านป้ายแนะนำวัสดุที่เหมาะสม
กับร้านของคุณและงบประมาณที่มีดีกว่าค่ะ ลองปรับลดเสปค ลดขนาดดู น่าจะพอช่วย
ได้ แต่ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องงบประมาณ ขอให้งานออกมาสวยเด่นกว่าใคร ลองให้ทางร้าน
เสนอราคาและวัสดุมาให้คุณตัดสินใจเองก็ได้ค่ะ

7. มัดจำค่าทำป้าย

อันนี้อย่าลืมนะ สำคัญมากเลยค่ะ 555 ส่วนใหญ่ทางร้านป้ายจะให้มัดจำ 50%
หรือจะจ่ายครบอันนี้แล้วแต่สะดวกค่ะ ^_^


8. เบอร์ติดต่อ

ให้เบอร์ติดต่อของคุณ หรืออีเมลล์ หรือไลน์ก็ตามสะดวกค่ะ และก็ขอนามบัตร หรือ
ข้อมูลติดของทางร้านป้ายไว้ดวยนะคะ เผื่อมีปัญหาอะไรจะได้บอกกล่าวได้ทันท่วงที


สวัสดี...